บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2020

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

รูปภาพ
PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ ฝุ่นละอองในอากาศประกอบด้วยสารหลายชนิด และมีขนาดต่างๆกัน เมื่อเราหายใจเข้าไป ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไมครอน จะถูกดักจับที่ทางเดินหายใจส่วนบน ในขณะที่สารที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) สามารถเคลื่อนลงไปทางเดินหายใจส่วนล่าง ผลการทดลองในหนูพบว่า ขนาดฝุ่นละอองยิ่งมีขนาดเล็กยิ่งสามารถกระจายไปในส่วนลึกของเนื้อปอดได้มาก และเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กจะสามารถผ่านผนังถุงลมเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ไต และตับ ทำให้เกิดการอักเสบ, เพิ่มปริมาณสารอนุมูลอิสระ, หลอดเลือดแข็งและอุดตัน และการทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง นอกจากนี้ PM 2.5 อาจทำลายเซลล์ผิวหนังและแทรกผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ ผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อสัมผัส PM 2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพระยะสั้น ได้แก่ ปวดและเวียนศีรษะ ระคายเคืองตา ตาแดง ระคายเคืองผิวหนัง ผลต่อทางเดินหายใจ เช่น ไอ หายใจลำบาก ปอดและหลอดลมอักเสบ ผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว ได้แก่ ผลต่อระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ วิตกกังวล เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอัมพาต เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และหัวใจ

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

รูปภาพ
ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?           หลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว แผ่นดินจะถ่ายเทความร้อนด้วยการแผ่รังสีกลับสู่ท้องฟ้า ทำให้อุณหภูมิของพื้นดินลดลงอย่างรวดเร็ว  เร็วกว่าอุณหภูมิของอากาศที่อยู่เหนือพื้นเสียอีก            ในกรณีที่ลมสงบและอุณหภูมิของอากาศบริเวณผิวพื้นต่ำกว่าอากาศเบื้องบน จะเกิดปรากฏการณ์การผกผันของอุณหภูมิใกล้ผิวพื้น (surface thermal inversion) จะปิดกั้นการลอยตัวของอากาศระดับพื้นทำให้ระบายฝุ่นไม่ได้   ปรากฏการณ์นี้จะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงรุ่งสาง             ในเวลาเช้า เมื่อมนุษย์เริ่มมีกิจกรรมหุงหาอาหาร หรือ การจราจร ฝุ่นที่เกิดขึ้นจะมีความเข้มข้นสูงเพราะไม่สามารถระบายได้  แต่หลังจากสิบโมงเช้าแผ่นดินจะร้อนพอที่จะสร้างการยกตัวของอากาศทำให้เกิดลมซึ่งจะสลายปรากฏการณ์การผกผันของอุณหภูมินี้ไป  ความเข้มข้นของฝุ่นที่ระดับพื้นจะลดลง              ด้วยเหตุนี้ ในวันที่มีค่าความเข้มข้นฝุ่นสูงๆ  เราไม่ควรออกกำลังกลางแจ้งในช่วงเช้า แต่ควรทำในช่วงบ่ายถึงเย็น  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเผาชีวมวลทุกประเภทในเวลากลางคืนถึงเช้า สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/wevn5oj7

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยตัวเอง

รูปภาพ
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยตัวเอง ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพบกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปกคลุมในพื้นที่และค่าเกินมาตรฐานในหลายจังหวัด นอกจากนั้นยังได้ติดอันดับโลกด้วยในแง่ของค่ามลพิษทางอากาศที่เป็นสีแดงอยู่ติดต่อกันหลายวัน ถ้าเราย้อนมองไปว่าประเทศไทยเคยพบกับปัญหาคุณภาพอากาศแบบนี้มาก่อนหรือไม่ หรือพึ่งเกิดในช่วงปี 2561–2562 โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ข้อเท็จจริงแล้วเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดมลพิษทางอากาศในประเทศไทยพบว่ามีเครื่องตรวจวัด PM 10 ตั้งแต่ ปี 2547 และเครื่องตรวจวัด PM 2.5 ในปี 2554 จึงได้พบการรายงานค่าฝุ่นในปีดังกล่าวเป็นต้นมา ถ้าดูข้อมูลตลอดปีย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2554–2561 พบว่าในหลายพื้นที่มีค่า PM 2.5, PM 10, ก๊าซโอโซน(O3) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะค่า PM 2.5 (ค่า PM 2.5 มาตรฐานที่กำหนดโดยกรมควบคุมมลพิษ มี 2 แบบ; แบบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม และแบบรายปีไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม ในขณะที่ค่ามาตรฐานของ WHO แบบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม และแบบรายปีไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลบ.ม) ปัจจุบันสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ได้มา

ทำไม PM 2.5 ถึงมีผลเสียต่อหลายอวัยวะ

รูปภาพ
ทำไม PM 2.5 ถึงมีผลเสียต่อหลายอวัยวะ        องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า มลพิษทางอากาศอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก จากการประเมินผลของโรคที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ 2016 พบว่า PM 2.5 ในอากาศภายนอกอาคาร เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชึวิตอันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งก่อให้เกิดการเสียชีวิตประมาณ 4.2 ล้านคน (ร้อยละ 7.6 ของการเสียชีวิตทั่วโลก)          มลพิษของอากาศภายในอาคารที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงสำหรับประกอบอาหารและการทำความร้อน ส่งผลต่อการเสียชีวิตประมาณ 3.8 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งผลกระทบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางจะมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง          และผลกระทบเกิดมากสุดในประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก, ผู้สูงอายุ, หญิงตั้งครรภ์, ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง,โรคมะเร็ง,โรคเบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง เป็นต้น และผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรืออยู่ในอาคารที่ไม่ได้ปิดมิดชิด ​        จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า PM2.5 และสารอื่นๆที่ก่อมลพิษทางอากาศ สัมพันธ์กับการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหลากหลายอวัยวะ เช่

ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะสั้นของ PM2.5

รูปภาพ
ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะสั้นของ PM2.5         ผลกระทบด้านสุขภาพของ PM 2.5 ขึ้นกับระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสสาร โดยความรุนแรงจะมากขึ้นเมื่อระยะเวลาสัมผัสนานขึ้น การสัมผัสระยะสั้นเป็นช่วงที่ร่างกายเผชิญกับอากาศที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและอาจก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพในระยะเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์  ซึ่งอาการที่อาจพบได้แก่  • ปวดและเวียนศีรษะ • ระคายเคืองตาทำให้ตาแดง • ผื่นจากการระคายเคืองผิวหนัง  • ประสิทธิภาพการนอนลดลง  • และผลต่อทางเดินหายใจ เช่น ไอ หายใจลำบาก ปอดและหลอดลมอักเสบ            ผู้ที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ (เช่น ผู้ป่วยหอบหืด (asthma), ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง, มะเร็งปอด) อาจมีอาการกำเริบ เช่น ไอ หอบ หายใจไม่สะดวกเมื่อสัมผัสกับ PM 2.5 ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง) เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5  สูงกว่าช่วงฤดูอื่น            นอกจากนี้การศึกษาทางระบาดวิทยาหลายการศึกษาพบว่าแม้จะสัมผัส PM 2.5 ในระยะสั้น ความเสี่ยงของการเสียชีวิตและความเจ็บป่วยที่ต้องเข้า

ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5

รูปภาพ
ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5        แม้ว่ามลภาวะทางอากาศจะมีผลกระทบต่อประชากรในทุกพื้นที่ ทุกอายุ ทุกสังคม แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่มมากกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณมลภาวะที่สัมผัส        ปัจจัยภายนอกทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆและปัจจัยภายในที่เป็นความเสี่ยงทางด้านชีวภาพ เช่น  • ประชาชนที่อาศัยอยู่แถบทวีปแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง จะได้รับอากาศที่มีปริมาณสารมลพิษมากกว่า จึงเกิดผลกระทบด้านสุขภาพมากกว่าบริเวณอื่นๆของโลก  • ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งกำเนิดของสาร PM 2.5 เช่น บริเวณจราจรหนาแน่น, ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง รวมถึงผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรืออยู่ในอาคารที่ไม่ได้ปิดมิดชิดทำให้มีการหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไปมากขึ้น จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น          นอกจากนี้ ปัจจัยภายในของแต่ละบุคคลที่เพิ่มความเสี่ยงของผลกระทบด้านสุขภาพจาก PM 2.5 ได้แก่  • ผู้สูงอายุ • เด็ก • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว [โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคปอด(เช่น โรคหอบหืด ,โรคถุงลมโป่งพอง ,โรคมะเร็งปอด),โรคอัมพา

PM2.5 ส่งผลต่อเด็กเล็กอย่างไร?

รูปภาพ
PM2.5 ส่งผลต่อเด็กเล็กอย่างไร?       การที่เด็กมีความเสี่ยงจาก PM 2.5 มากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบปริมาณอากาศที่หายใจเข้าสู่ร่างกายต่อน้ำหนักตัวของเด็กจะมากกว่าผู้ใหญ่ จึงได้รับสารที่เป็นพิษในอากาศมากกว่า และเด็กใช้เวลากิจกรรมกลางแจ้งที่มากกว่าผู้ใหญ่และอาจได้รับผลของมลภาวะอากาศในบ้านถ้ามีการเผาไหม้สารชีวมวลสำหรับการทำอาหารและเพิ่มความร้อนภายในบ้าน       นอกจากนี้ร่างกายของเด็กยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ปอดและระบบภูมิคุ้มกันเริ่มพัฒนาในช่วงที่เป็นตัวอ่อนในครรภ์และพัฒนาต่อเนื่องหลังจากที่คลอดเป็นเวลาหลายปี โดยพบว่าทารกแรกคลอดมีปริมาณถุงลมในปอดประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณทั้งหมดเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่       ดังนั้นการได้รับสารพิษในอากาศตั้งแต่อยู่ในครรภ์และช่วงวัยเด็กเล็กจะทำให้ปอดและหลอดลมเกิดอันตรายและไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ส่งผลให้การทำงานของปอดลดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ รวมถึงมีรายงานการเสียชีวิตของทารกหลังคลอดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเนื่องจากสัมผัสเชื้อโรคในอากาศที่มีมลพิษและภูมิคุ้มกันที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่       นอกจากนี้พบว่าการสัมผ

ผลของ PM2.5 ต่อหญิงตั้งครรภ์

รูปภาพ
ผลของ PM2.5 ต่อหญิงตั้งครรภ์....... ​     การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า มารดาที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศขณะตั้งครรภ์ มีความสัมพันธ์กับการเจริญเติบโตของตัวอ่อนช้ากว่าปกติ และทารกแรกคลอดมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซี่งสันนิษฐานว่าผลกระทบนี้จะมากที่สุดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์       นอกจากนี้ยังมีรายงานความเสี่ยงของภาวะครรภ์เป็นพิษ และทารกคลอดก่อนกำหนดเพิ่มขึ้น ผลที่อาจจะตามมาจากการที่ทารกเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ คลอดก่อนกำหนด และน้ำหนักแรกคลอดต่ำ คือปัญหาทางสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาของปอดและความสามารถในการเรียนรู้ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ส่งผลระยะยาวตลอดช่วงอายุขัย

การทำงานของเครื่องวัดฝุ่นแบบแสง (Laser Scattering)

รูปภาพ
การทำงานของเครื่องวัดฝุ่นแบบแสง (Laser Scattering)       เครื่องวัดค่าฝุ่นละอองสามารถแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ • แบบกระดาษกรอง  • แบบแสง       สำหรับเครื่องวัดทั่วไปที่เห็นในตลาดและที่ติดกับอุปกรณ์เครื่องฟอกอากาศหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป จะเป็นแบบแสง หรือที่เรียกกันว่า Laser Scattering โดยมีหลักการการปล่อยคลื่นแสง มักจะเป็นช่วงแสงเลเซอร์ ผ่านช่องที่รับฝุ่นละอองเข้า และจะมีแผ่นรับแสง ซึ่งจะสามารถวัดกระจายของความเข้มแสงที่ตกกระทบ เนื่องจากเมื่อแสงผ่านฝุ่นละออง จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของความเข้มแสง อันเนื่องมาจาก การดูดซับ สะท้อนและการหักเหของแสง ซึ่งมีผลกระทบต่อความเข้มแสงที่ไปตกกระทบที่แผ่นรับแสงปลายทาง  ทำให้สามารถหาความสัมพันธ์ของรูปแบบของวงความเข้มแสงที่รับที่ปลายทางกับขนาดอนุภาคที่ขวางลำแสงก่อนที่จะมากระทบที่แผ่นรับแสง

ผลของ PM 2.5 ต่อโรคมะเร็ง

รูปภาพ
ผลของ PM 2.5 ต่อโรคมะเร็ง PM 2.5 และ PM 10 หมายถึงฝุ่นละเอียดขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ ฝุ่นควันซึ่งเกิดจากการทำอาหาร จากรถยนต์ และอื่นๆ  เมื่อฝุ่นขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ก็จะทำให้มีการระคายเคืองของ ทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นขนาดเล็กที่มีขนาดน้อยกว่า 10 หรือที่รู้จักกันในขนาด 2.5 จะลงไปถึงท่อลมและถุงลมส่วนปลาย ทำให้ มีการ อักเสบเรื้อรังเกิดขึ้น และเมื่อได้รับเป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เกิดมะเร็งของระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งปอด จากการศึกษาในอเมริกา ปริมาณ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ug/m3 จะมีผลทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงขึ้น ร้อยละ 4%, 6%, และ 8% สำหรับโรคทุกชนิด โรคหัวใจ และ มะเร็งปอดตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การวัดค่า PM 2.5 และฝุ่นขนาดเล็กรวมกันทั้งหมด อาจไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลชี้บ่งถึงอัตราเสียชีวิตได้เสมอไป ข้อมูลของประเทศไทย แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาชัดเจนแต่จะเห็นได้ว่าในภาคเหนือโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง มีอัตราการ เกิดโรคมะเร็งปอดและอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดสูงกว่าภาคอื่นๆของประเทศไทย  องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำเกี่ยวกับ Air Q

พ่นน้ำขึ้นฟ้าลดฝุ่น PM 2.5 ได้หรือไม่ ?

รูปภาพ
พ่นน้ำขึ้นฟ้าลดฝุ่น PM 2.5 ได้หรือไม่ ?   ​   จากที่ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในหลาย ๆ เมืองขึ้นสูง ทำให้มีหน่วยงานราชการพยายามแก้ปัญหาด้วยการฉีดน้ำขึ้นฟ้าหรือพ่นน้ำเป็นละอองฝอยจากตึกเพื่อลดปริมาณฝุ่นในอากาศ มีคำถามว่าสามารถลดปริมาณฝุ่นได้จริงหรือ     เราต้องมาทำความเข้าใจถึงหลักการของการดักฝุ่นก่อน  จริง ๆ แล้วการฉีดน้ำก็เปรียบเสมือนมีฝนตกลงมานั่นเองแต่เป็นฝนปริมาณที่น้อยมาก เมล็ดฝนจะทำหน้าที่คล้าย ๆ กับเส้นใยแผ่นกรองที่ดักอนุภาคฝุ่น  ซึ่งกลไกหลักในการดักเก็บผงฝุ่นนั้นมีอยู่ 3 อย่างด้วยกันก็คือ ​1. การดักฝุ่นแบบชนอย่างจัง หรือ impaction เกิดเมื่อเมล็ดฝุ่นมีความเร็วสูงวิ่งเข้าชนหยดน้ำ ฝุ่นก็จะติดอยู่บนหยดน้ำ สามารถดักจับอนุภาคฝุ่นได้ ​2. การชนแบบเฉี่ยว ๆ หรือ interception แบบนี้เกิดเมื่ออนุภาคฝุ่นมีความเร็วน้อยกว่าแบบแรก เมื่อเมล็ดฝุ่นวิ่งเข้าใกล้หยดน้ำก็จะชนบริเวณขอบของหยดน้ำและถูกดักจับ  ​3. การชนแบบสะเปะสะปะเหมือนคนเมาเดินชนรถ หรือ diffusion แบบนี้อนุภาคที่มีขนาดเล็ก ล่องลอยด้วยความเร็วต่ำแบบไร้ทิศทาง จนมาชนและถูกดักจับบนหยดน้ำ  ​ดังนั้นเมื่อเราฉีดน้ำเป็นหยดในอากาศ ฝุ่นก็จะถูกจับด้วยวิธีทั้

พบไฟป่า แจ้งใครดี ?

รูปภาพ
พบไฟป่า แจ้งใครดี ? หากพบเห็นไฟป่า หรือการกระทำที่ก่อให้เกิดไฟป่า สามารถแจ้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ ดังนี้ 1 สายด่วนไฟป่า โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โทร 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง 2 องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่เกิดไฟป่า 3 สถานีควบคุมไฟป่า หรือหน่วยป้องกันรักษาป่า ที่ใกล้ที่สุด 4 Facebook :กรมป่าไม้ 5 Facebook :กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

การต่อสู้ไฟป่าทางอากาศ

รูปภาพ
การต่อสู้ไฟป่าทางอากาศ “ความเป็นมาในแคลิฟอร์เนีย” คือการใช้อากาศยานไม่ว่าจะเป็นชนิดปีกตรึงหรือปีกหมุนในการต่อสู้ไฟป่า  รวมถึงเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าที่โดดร่มหรือโรยตัวจากอากาศยานลงในพื้นที่แนวความคิดในการใช้อากาศยานนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายของทศวรรษ 1950 หลังจากมีเครื่องบินทิ้งระเบิดเหลือใช้จากสงครามโลกครั้งที่2 จำนวนมาก  นาย George Kreitzberg ได้ทดลองโปรยน้ำลงเพื่อดับไฟป่า   จากนั้นฝูงบินดับไฟจึงถือกำเนิดขึ้น     “น้ำนั้นดับไฟป่าได้อย่างไร” การสันดาปจะเกิดได้อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีปัจจัย 3 ประการได้แต่   • ความร้อน   • เชื้อเพลิง  • ออกซิเจน  อยู่พร้อมๆด้วยกัน การแยกปัจจัยหนึ่งใดออกไปจะทำให้ไฟดับ   น้ำที่โปรยลงนั้นเมื่อต้องผิวพื้นที่ร้อนหรือหน้าไฟจะระเหยเป็นไอน้ำพาเอาความร้อนออกจากหน้าไฟ  ทำให้ไฟนั้นดับลงได้   ปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในการต่อสู้ไฟป่านั้นเพียง 1/300 ของปริมาตรเชื้อเพลิง ในป่าที่มีใบไม้สะสมหนา 10 ซม. นั้นจะใช้น้ำเพียง 30 cc เทียบเท่ากับโค้กหนึ่งกระป๋อง ต่อ ตารางเมตร   การใช้น้ำมากเกินไปจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื่องจากน้ำส่วนเกินนี้จะไหลและซึมหายลงไปในดิน แทนที่น้ำส่วนนี้จะถูกนำไปใช้

ต้องใช้น้ำแค่ไหนในการต่อสู้ไฟป่า

รูปภาพ
ต้องใช้น้ำแค่ไหนในการต่อสู้ไฟป่า        น้ำ.....เมื่อถูกพ่นเข้าสู่หน้าไฟจะระเหยกลายเป็นไอน้ำนำพาความร้อนออกจากจุดสันดาปจึงสามารถดับไฟได้         แต่ในป่านั้นต่างจากในเมือง การขนส่งน้ำจากแหล่งน้ำไปยังตำแหน่งไฟป่านั้นต้องเดินทางผ่านพื้นที่สูงชัน ข้ามภูเขา เป็นระยะทางไกลๆ น้ำเป็นสารที่มีน้ำหนักมากโดยเมื่อต้องขนส่งผ่านพื้นที่สูงชัน การใช้น้ำดับไฟป่านั้นจำเป็นต้องใช้อย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น การใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองนั้นกลับกลายเป็นว่าเราจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้เมื่อพบว่าไฟนั้นลุกติดขึ้นมาได้ใหม่หลังจากเราใช้น้ำจนหมดสิ้น          ตามคู่มือ Water vs Fire ของกรมป่าไม้แคลิฟอร์เนียในปี 1968 แนะนำให้ใช้น้ำเพียง 1/300 ส่วนของปริมาตรเชื้อเพลิง หมายความว่าถ้าเรามีพื้นที่ป่า 1 ตารางเมตรแล้วมีเชื้อเพลิงใบไม้หนา 10 ซม  คิดเป็นปริมาตรได้ 100 ลิตร  เราต้องการน้ำเพียง 0.3 ลิตรในการดับไฟป่านี้  (โค้ก 1 กระป๋อง) หากใช้น้ำมากกว่านี้แล้วน้ำส่วนที่เหลือจะไหลซึมลงดินไปเป็นการสูญเปล่า       ในประเทศไทยนั้นกลับพบไฟป่ารอบๆเขื่อนหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ บางครั้งไฟไหม้ถึงชายน้ำ เหตุผลคือรอบเขื่อนนั้นมักเป็นป่าขนาดใหญ่ที่ห่างไก

บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์

รูปภาพ
บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์      บ้านก้อ ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน เป็นหุมู่บ้านขนาดกลางมีประชากร 2,800 คน  มีพื้นที่ประมาณ 25,000 ไร่  อยู่กลางอุทยานแห่งชาติแม่ปิงซึ่งเป็นป่าเต็งรังที่ยังมีความสมบูรณ์มาก ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมาเกิดไฟป่ารอบหมู่บ้านนับแสนไร่ทุกปีจากการลอบเผาป่าของชาวบ้าน       ปัญหาไฟป่าในบ้านก้อนั้นคล้ายคลึงกับปัญหาไฟป่าในบริเวณรอยต่อจังหวัด ลำพูน เชียงใหม่  ลำปาง และตาก ซึ่งกลายเป็นพื้นที่ไฟป่าใหญ่ที่สุดของประเทศไทยทุกปี  เป็นสาเหตุหลักของแหล่งกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือ ประกอบกับสภาพภูมิศาสตร์กับสภาพอุตุนิยมวิทยาของการผกผันของอุณหภูมิอากาศเหนือพื้นที่แบบหุบเขาทำให้ 9 จังหวัดในภาคเหนือมีความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศไทยส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างยิ่ง      จากการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนบ้านก้อพบว่าต้นเหตุที่แท้จริงของการเผาป่า เกิดจากความยากจนและปัญหาปากท้อง ชาวบ้านขาดน้ำในการเพาะปลูกถึง 6 เดือนต่อปี ทำให้ต้องเข้าป่าหาพืชผักหรือล่าสัตว์ป่ามาขายเพื่อยังชีพ  ทั้งนี้ความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่สามารถเข้าถึงได้จากการขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินแม้ว่ารัฐบาลจะอพยพชาวบ้านกลุ่มนี้ออกจากพื้นที่น

ทำไมคนไทยถึงเผาป่า ?

รูปภาพ
ทำไมคนไทยถึงเผาป่า?      ไฟเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาหลายล้านปี และไฟเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์วิวัฒนาการเหนือสัตว์ทั้งปวงเพราะมนุษย์กล้าที่จะเล่นกับไฟ ไม่กลัวไฟ จากหลักฐานพบว่ามนุษย์กลุ่มแรกที่เริ่มรู้จักการใช้ไฟคือ Homo erectus ซึ่งเริ่มเมื่อประมาณ 1.7-1.5 ล้านปีก่อน หลังจากนั้นหลักฐานทางโบราณคดีปรากฏให้เห็นว่ามนุษย์ในส่วนต่างๆ ของโลกได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากไฟมาเป็นเวลายาวนาน เช่น  • ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาใช้ไฟเพื่อการสงครามและจัดการทุ่งหญ้าแพรี่มายาวนาน  • ชาวพื้นเมือง Aborigin ในทวีปออสเตรเลียมีการใช้ไฟมายาวนานกว่า 40,000 ปี  ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีรายงานหลักฐานการใช้ไฟของมนุษย์มาตั้งแต่ประมาณ 12,000-38,000 ปี เป็นต้น การใช้ไฟมีทั้งการใช้เพื่อการยังชีพดำรงชีวิต และการใช้ไฟในเชิงวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อ      ในปัจจุบัน มนุษย์ก็ยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในหลากหลายวัตถุประสงค์ เช่น ใช้ไฟเพื่อ • การล่าสัตว์ ทั้งการเผาเพื่อไล่สัตว์ออกมาจากที่หลบซ่อนเพื่อดักจับและการเผาเพื่อให้เกิดหญ้าระบัดดึงดูดสัตว์เข้ามาแล้วดักยิง  • การเผาเพื่อเก็บหาของป่า (โดยเฉพาะผักหวาน เห็ดเผาะ) ที่ยังมีข

ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคไตเรื้อรัง

รูปภาพ
ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคไตเรื้อรัง โครงการป้องกันและชะลอโรคไตเรื้อรังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (chronic kidney disease prevention in the Northeast of Thailand: CKDNET) ได้จัดตั้งโครงการย่อยเพื่อศึกษาผลกระทบของมลภาวะสิ่งแวดล้อมต่อโรคไตและโรคไม่ติดต่อ ซึ่งด้านมลภาวะทางอากาศ โครงการฯ ได้ศึกษาผลกระทบทางระบาดวิทยาของ PM 2.5 ต่อสุขภาพ โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณความเข้มข้นของ PM 2.5 กับอัตราการเสียชีวิตและอุบัติการณ์ของโรคต่างๆที่กระจายในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย        เนื่องจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่แสดงค่า PM 2.5 ครอบคลุมเพียงบางส่วนของประเทศ ทำให้ในบางพื้นที่ต้องอาศัยการประมาณค่า PM 2.5  โดยอาศัยข้อมูลย้อนหลังของดาวเทียมนาซ่า ซึ่งแสดงค่าความลึกเชิงแสงของอนุภาคแขวนลอยในชั้นบรรยากาศ (aerosol optical death: AOD) ทั่วโลกรวมถึงพื้นที่ของประเทศไทย (ค่า AOD บ่งบอกถึงการผ่านของรังสีดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านอนุภาคมายังพื้นโลก โดยอนุภาคเหล่านี้อาจรวมไปถึงฝุ่นละอองขนาดต่างๆ ควันและมลพิษที่กระจายตัวอยู่ในบรรยากาศซึ่งมีคุณสมบัติในการขวางกั้นรังสีโดยการดูดกลืนและสะท้อนรังสีจากดวง

ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคระบบทางเดินหายใจ

รูปภาพ
ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคระบบทางเดินหายใจ  ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น       ได้ศึกษาผลกระทบมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 6 ปี ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2559 ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศระยะยาวต่อโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง พบว่าจังหวัดและพื้นที่มีฝุ่นและคาร์บอนอินทรีย์ปริมาณสูงจะมีอัตราการป่วยเข้านอนรักษาตัวโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น      โดยพบว่าในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตบริการสุขภาพที่ 1 ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน จ.แม่ฮ่องสอน จ.แพร่ จ.น่าน จ.ลำปาง และจ.พะเยา ซึ่งมีปริมาณฝุ่นและคาร์บอนอินทรีย์ปริมาณสูงที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับการพบอัตราการป่วยเข้านอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังมากที่สุด      ส่วนในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตบริการสุขภาพที่ 12 ได้แก่ จ.ตรัง จ.พัทลุง จ.สตูล จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และจ.ยะลา ซึ่งมีปริมาณฝุ่นและคาร์บอนอินทรีย์ปริมาณต่ำที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับการพบอัตราการ

ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน

รูปภาพ
ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน          จากข้อมูลย้อนหลัง 6 ปี ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2559 พบว่า มลพิษทางอากาศมีผลกระทบระยะสั้น คือ ในทุกๆปีจะพบอัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันสูงสุดในช่วงเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม โดยมีอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันทั่วทุกภาคใกล้เคียงกัน และพบว่าสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นจิ๋ว ขนาด 2.5 ไมครอน ซึ่งพบว่าสูงมากในช่วง 3 เดือนดังกล่าวของทุกปี          นอกจากนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวยังพบว่ามีปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สูงขึ้นร่วมด้วย ส่วนช่วงเดือนที่มีการอัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันต่ำสุด คือ ช่วงเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม กับช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม จะพบว่า อัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันของทุกปี ในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม สูงกว่า ช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม ถึง 2 เท่า

ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

รูปภาพ
ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ       ข้อมูลการศึกษาของกลุ่มวิจัยโรคหลอดเลือดสมองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า  - ปริมาณ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 mg/m3 เพิ่มอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ร้อยละ 33 และจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยรายปี PM 2.5 มากกว่า 25 mg/m3 มีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นร้อยละ 44  - เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดที่มีค่า PM2.5 เฉลี่ยรายปีต่ำกว่า 25 mg/m3 โดยส่วนประกอบของ PM 2.5 ที่มีผลต่อโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาวมากที่สุด คือ  • สารคาร์บอนดำ  • ฝุ่น  และกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบของ PM 2.5 ต่อโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ได้แก่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ       ผลการศึกษาผลกระทบของมลภาวะทางอากาศกับโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน พบว่า อัตราการรักษาในโรงพยาบาลสูงในพื้นที่ภาคกลาง (บริเวณกรุงเทพมหานครและเขตสุขภาพที่ 4,5) ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณสารคาร์บอนดำ โดยพบความเสี่ยงของอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มมากขึ้น 1.24 เท่า ต่อปริมาณคาร์บอนดำที่เพิ่มขึ้นทุก 1 mg/m3                 อัตราการเจ็บป่วยของ

ไฟป่าช่วยเพิ่มผลผลิตผักหวานป่า จริงหรือไม่?

รูปภาพ
ไฟป่าช่วยเพิ่มผลผลิตผักหวานป่า จริงหรือไม่?   ​      เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนช่วงระหว่างเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคมด้วยสภาพอากาศร้อนและแล้ง ผักป่าหลายชนิดกลับแตกยอดออกดอกจนกลายเป็นอาหารตามฤดูกาลที่หลายๆคนต้องการหามาลิ้มลอง ไม่ว่าจะเป็น • ยอดและดอกผักติ้ว (ติ้วส้ม)  • ผักเสี้ยว (เสี้ยวดอกขาว)  • ผักเฮือด  • ยอดส้มป่อย  • ผักหวานป่า ซึ่งเป็นผักป่าที่รสชาติอร่อยที่สุดของหน้าแล้งก็กว่าได้         ปัจจุบันผักหวานป่ากลายเป็นผักป่าที่มีราคาแพง สูงตามความต้องการของตลาดและนำไปสู่การพัฒนาการปลูกเชิงการค้ามาก หากเปรียบเทียบถึงรสชาติของผักหวานป่าที่ได้จากป่า ย่อมเหนือกว่าผักหวานป่าจากแปลงปลูก ​       มารู้จักผักหวานป่าในประเทศไทยกล่าวได้ว่า มีอยู่ 2 ชนิดคือ 1. ผักหวานป่าเหนือ (Melientha suavis Pierre) เป็นชนิดที่พบแหล่งกระจายหลักอยู่ในป่าผลัดใบ(ป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบ) ของภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลาง 2. ผักหวานป่าใต้ หรือ บางครั้งเรียกว่า ผักพูม (Champereia manillana (Blume) Merr.) เป็นชนิดที่พบแหล่งกระจายหลักอยู่ในป่าดงดิบ (ป่าดิบแล้งและป่าดิบชื้น) ของภาคใต้ ภาคตะวันตกและอีสานใต้   ​       นิเวศขอ