การต่อสู้ไฟป่าทางอากาศ



การต่อสู้ไฟป่าทางอากาศ

“ความเป็นมาในแคลิฟอร์เนีย”

คือการใช้อากาศยานไม่ว่าจะเป็นชนิดปีกตรึงหรือปีกหมุนในการต่อสู้ไฟป่า  รวมถึงเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าที่โดดร่มหรือโรยตัวจากอากาศยานลงในพื้นที่แนวความคิดในการใช้อากาศยานนี้เกิดขึ้นในช่วงปลายของทศวรรษ 1950 หลังจากมีเครื่องบินทิ้งระเบิดเหลือใช้จากสงครามโลกครั้งที่2 จำนวนมาก  นาย George Kreitzberg ได้ทดลองโปรยน้ำลงเพื่อดับไฟป่า   จากนั้นฝูงบินดับไฟจึงถือกำเนิดขึ้น  

 
“น้ำนั้นดับไฟป่าได้อย่างไร”

การสันดาปจะเกิดได้อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องมีปัจจัย 3 ประการได้แต่  
• ความร้อน  
• เชื้อเพลิง 
• ออกซิเจน 
อยู่พร้อมๆด้วยกัน การแยกปัจจัยหนึ่งใดออกไปจะทำให้ไฟดับ

  น้ำที่โปรยลงนั้นเมื่อต้องผิวพื้นที่ร้อนหรือหน้าไฟจะระเหยเป็นไอน้ำพาเอาความร้อนออกจากหน้าไฟ  ทำให้ไฟนั้นดับลงได้   ปริมาณน้ำที่ต้องใช้ในการต่อสู้ไฟป่านั้นเพียง 1/300 ของปริมาตรเชื้อเพลิง ในป่าที่มีใบไม้สะสมหนา 10 ซม. นั้นจะใช้น้ำเพียง 30 cc เทียบเท่ากับโค้กหนึ่งกระป๋อง ต่อ ตารางเมตร   การใช้น้ำมากเกินไปจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื่องจากน้ำส่วนเกินนี้จะไหลและซึมหายลงไปในดิน แทนที่น้ำส่วนนี้จะถูกนำไปใช้ในการดับเพลิงในบริเวณอื่นหรือแม้แต่เป็นการป้องกันไฟปะทุกลับมา

 “ประวัติอากาศยานต่อสู้ไฟป่าในประเทศไทย”

• Canadair CL-215

สำหรับประเทศไทยนั้นกองทัพเรือได้จัดซื้ออากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบก CL-215 จำนวน 2 ลำจากประเทศแคนาดาในปี 1978  อากาศยานดังกล่าวสามารถบินเลียดน้ำเพื่อตักน้ำเข้าสู่ถังภายในลำตัวสำหรับการดับไฟป่าได้  2,800 ลิตร กองทัพเรือจัดใช้อากาศยานดังกล่าวในการลาดตระเวนเป็นภารกิจหลัก และเนื่องจากอายุที่ใช้งานมาอย่างยาวนานกว่า 42 ปี ประกอบกับเครื่องยนต์สูบดาวซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ล้าสมัยซ่อมบำรุงยุ่งยาก  ทำให้อากาศยานคู่นี้ไม่เหมาะสมที่จะนำมาต่อสู้ไฟป่าในปัจจุบัน

 • Kamov KA-32

เป็นความร่วมมือระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับกองทัพบก โดยกองทัพบกรับผิดชอบในส่วนของบุคลากรด้านการบิน การปฏิบัติการบิน และสถานที่เก็บ ส่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รับผิดชอบการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ งบประมาณในการส่งกำลังบำรุงและการฝึก

KA-32 มีโรเตอร์ซ้อนกัน 2 ชั้น สามารถบรรทุกน้ำในถังใต้ท้องได้ 3,000 ลิตร และสามารถลอยตัวเพื่อเติมน้ำจากอ่างเก็บน้ำ  แม่น้ำ หรือ ลำธารใกล้แหล่งไฟป่าได้   โดยไม่ต้องกลับมาเติมน้ำที่สนามบิน  ปัจจุบันมี KA-32 เข้าประจำการแล้ว 2 ลำ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยตัวเอง