บทความ

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

รูปภาพ
PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ ฝุ่นละอองในอากาศประกอบด้วยสารหลายชนิด และมีขนาดต่างๆกัน เมื่อเราหายใจเข้าไป ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 ไมครอน จะถูกดักจับที่ทางเดินหายใจส่วนบน ในขณะที่สารที่เล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM 2.5) สามารถเคลื่อนลงไปทางเดินหายใจส่วนล่าง ผลการทดลองในหนูพบว่า ขนาดฝุ่นละอองยิ่งมีขนาดเล็กยิ่งสามารถกระจายไปในส่วนลึกของเนื้อปอดได้มาก และเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งฝุ่นขนาดเล็กจะสามารถผ่านผนังถุงลมเข้าสู่กระแสเลือด และกระจายไปที่อวัยวะอื่นๆ เช่น ไต และตับ ทำให้เกิดการอักเสบ, เพิ่มปริมาณสารอนุมูลอิสระ, หลอดเลือดแข็งและอุดตัน และการทำงานของอวัยวะต่างๆลดลง นอกจากนี้ PM 2.5 อาจทำลายเซลล์ผิวหนังและแทรกผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ร่างกายได้ ผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อสัมผัส PM 2.5 ผลกระทบต่อสุขภาพระยะสั้น ได้แก่ ปวดและเวียนศีรษะ ระคายเคืองตา ตาแดง ระคายเคืองผิวหนัง ผลต่อทางเดินหายใจ เช่น ไอ หายใจลำบาก ปอดและหลอดลมอักเสบ ผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว ได้แก่ ผลต่อระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ วิตกกังวล เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอัมพาต เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และหัวใจ

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

รูปภาพ
ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?           หลังพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว แผ่นดินจะถ่ายเทความร้อนด้วยการแผ่รังสีกลับสู่ท้องฟ้า ทำให้อุณหภูมิของพื้นดินลดลงอย่างรวดเร็ว  เร็วกว่าอุณหภูมิของอากาศที่อยู่เหนือพื้นเสียอีก            ในกรณีที่ลมสงบและอุณหภูมิของอากาศบริเวณผิวพื้นต่ำกว่าอากาศเบื้องบน จะเกิดปรากฏการณ์การผกผันของอุณหภูมิใกล้ผิวพื้น (surface thermal inversion) จะปิดกั้นการลอยตัวของอากาศระดับพื้นทำให้ระบายฝุ่นไม่ได้   ปรากฏการณ์นี้จะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงรุ่งสาง             ในเวลาเช้า เมื่อมนุษย์เริ่มมีกิจกรรมหุงหาอาหาร หรือ การจราจร ฝุ่นที่เกิดขึ้นจะมีความเข้มข้นสูงเพราะไม่สามารถระบายได้  แต่หลังจากสิบโมงเช้าแผ่นดินจะร้อนพอที่จะสร้างการยกตัวของอากาศทำให้เกิดลมซึ่งจะสลายปรากฏการณ์การผกผันของอุณหภูมินี้ไป  ความเข้มข้นของฝุ่นที่ระดับพื้นจะลดลง              ด้วยเหตุนี้ ในวันที่มีค่าความเข้มข้นฝุ่นสูงๆ  เราไม่ควรออกกำลังกลางแจ้งในช่วงเช้า แต่ควรทำในช่วงบ่ายถึงเย็น  นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการเผาชีวมวลทุกประเภทในเวลากลางคืนถึงเช้า สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/wevn5oj7

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยตัวเอง

รูปภาพ
เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยตัวเอง ในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยพบกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 ปกคลุมในพื้นที่และค่าเกินมาตรฐานในหลายจังหวัด นอกจากนั้นยังได้ติดอันดับโลกด้วยในแง่ของค่ามลพิษทางอากาศที่เป็นสีแดงอยู่ติดต่อกันหลายวัน ถ้าเราย้อนมองไปว่าประเทศไทยเคยพบกับปัญหาคุณภาพอากาศแบบนี้มาก่อนหรือไม่ หรือพึ่งเกิดในช่วงปี 2561–2562 โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ข้อเท็จจริงแล้วเครื่องมือที่สามารถตรวจวัดมลพิษทางอากาศในประเทศไทยพบว่ามีเครื่องตรวจวัด PM 10 ตั้งแต่ ปี 2547 และเครื่องตรวจวัด PM 2.5 ในปี 2554 จึงได้พบการรายงานค่าฝุ่นในปีดังกล่าวเป็นต้นมา ถ้าดูข้อมูลตลอดปีย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2554–2561 พบว่าในหลายพื้นที่มีค่า PM 2.5, PM 10, ก๊าซโอโซน(O3) และก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) เกินค่ามาตรฐาน โดยเฉพาะค่า PM 2.5 (ค่า PM 2.5 มาตรฐานที่กำหนดโดยกรมควบคุมมลพิษ มี 2 แบบ; แบบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลบ.ม และแบบรายปีไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม ในขณะที่ค่ามาตรฐานของ WHO แบบค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงไม่เกิน 25 ไมโครกรัม/ลบ.ม และแบบรายปีไม่เกิน 10 ไมโครกรัม/ลบ.ม) ปัจจุบันสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ได้มา

ทำไม PM 2.5 ถึงมีผลเสียต่อหลายอวัยวะ

รูปภาพ
ทำไม PM 2.5 ถึงมีผลเสียต่อหลายอวัยวะ        องค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า มลพิษทางอากาศอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมากที่สุดในโลก จากการประเมินผลของโรคที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ 2016 พบว่า PM 2.5 ในอากาศภายนอกอาคาร เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเสียชึวิตอันดับที่ 5 ของโลก ซึ่งก่อให้เกิดการเสียชีวิตประมาณ 4.2 ล้านคน (ร้อยละ 7.6 ของการเสียชีวิตทั่วโลก)          มลพิษของอากาศภายในอาคารที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงสำหรับประกอบอาหารและการทำความร้อน ส่งผลต่อการเสียชีวิตประมาณ 3.8 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งผลกระทบในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางจะมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง          และผลกระทบเกิดมากสุดในประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็ก, ผู้สูงอายุ, หญิงตั้งครรภ์, ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง,โรคมะเร็ง,โรคเบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง เป็นต้น และผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรืออยู่ในอาคารที่ไม่ได้ปิดมิดชิด ​        จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า PM2.5 และสารอื่นๆที่ก่อมลพิษทางอากาศ สัมพันธ์กับการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหลากหลายอวัยวะ เช่

ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะสั้นของ PM2.5

รูปภาพ
ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะสั้นของ PM2.5         ผลกระทบด้านสุขภาพของ PM 2.5 ขึ้นกับระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสสาร โดยความรุนแรงจะมากขึ้นเมื่อระยะเวลาสัมผัสนานขึ้น การสัมผัสระยะสั้นเป็นช่วงที่ร่างกายเผชิญกับอากาศที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและอาจก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพในระยะเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์  ซึ่งอาการที่อาจพบได้แก่  • ปวดและเวียนศีรษะ • ระคายเคืองตาทำให้ตาแดง • ผื่นจากการระคายเคืองผิวหนัง  • ประสิทธิภาพการนอนลดลง  • และผลต่อทางเดินหายใจ เช่น ไอ หายใจลำบาก ปอดและหลอดลมอักเสบ            ผู้ที่มีโรคระบบทางเดินหายใจ (เช่น ผู้ป่วยหอบหืด (asthma), ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง, มะเร็งปอด) อาจมีอาการกำเริบ เช่น ไอ หอบ หายใจไม่สะดวกเมื่อสัมผัสกับ PM 2.5 ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดสมอง) เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5  สูงกว่าช่วงฤดูอื่น            นอกจากนี้การศึกษาทางระบาดวิทยาหลายการศึกษาพบว่าแม้จะสัมผัส PM 2.5 ในระยะสั้น ความเสี่ยงของการเสียชีวิตและความเจ็บป่วยที่ต้องเข้า

ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5

รูปภาพ
ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5        แม้ว่ามลภาวะทางอากาศจะมีผลกระทบต่อประชากรในทุกพื้นที่ ทุกอายุ ทุกสังคม แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่มมากกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณมลภาวะที่สัมผัส        ปัจจัยภายนอกทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆและปัจจัยภายในที่เป็นความเสี่ยงทางด้านชีวภาพ เช่น  • ประชาชนที่อาศัยอยู่แถบทวีปแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง จะได้รับอากาศที่มีปริมาณสารมลพิษมากกว่า จึงเกิดผลกระทบด้านสุขภาพมากกว่าบริเวณอื่นๆของโลก  • ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งกำเนิดของสาร PM 2.5 เช่น บริเวณจราจรหนาแน่น, ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง รวมถึงผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรืออยู่ในอาคารที่ไม่ได้ปิดมิดชิดทำให้มีการหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไปมากขึ้น จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น          นอกจากนี้ ปัจจัยภายในของแต่ละบุคคลที่เพิ่มความเสี่ยงของผลกระทบด้านสุขภาพจาก PM 2.5 ได้แก่  • ผู้สูงอายุ • เด็ก • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว [โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคปอด(เช่น โรคหอบหืด ,โรคถุงลมโป่งพอง ,โรคมะเร็งปอด),โรคอัมพา

PM2.5 ส่งผลต่อเด็กเล็กอย่างไร?

รูปภาพ
PM2.5 ส่งผลต่อเด็กเล็กอย่างไร?       การที่เด็กมีความเสี่ยงจาก PM 2.5 มากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบปริมาณอากาศที่หายใจเข้าสู่ร่างกายต่อน้ำหนักตัวของเด็กจะมากกว่าผู้ใหญ่ จึงได้รับสารที่เป็นพิษในอากาศมากกว่า และเด็กใช้เวลากิจกรรมกลางแจ้งที่มากกว่าผู้ใหญ่และอาจได้รับผลของมลภาวะอากาศในบ้านถ้ามีการเผาไหม้สารชีวมวลสำหรับการทำอาหารและเพิ่มความร้อนภายในบ้าน       นอกจากนี้ร่างกายของเด็กยังเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ ปอดและระบบภูมิคุ้มกันเริ่มพัฒนาในช่วงที่เป็นตัวอ่อนในครรภ์และพัฒนาต่อเนื่องหลังจากที่คลอดเป็นเวลาหลายปี โดยพบว่าทารกแรกคลอดมีปริมาณถุงลมในปอดประมาณร้อยละ 20 ของปริมาณทั้งหมดเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่       ดังนั้นการได้รับสารพิษในอากาศตั้งแต่อยู่ในครรภ์และช่วงวัยเด็กเล็กจะทำให้ปอดและหลอดลมเกิดอันตรายและไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเต็มที่ส่งผลให้การทำงานของปอดลดลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของปอดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ รวมถึงมีรายงานการเสียชีวิตของทารกหลังคลอดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเนื่องจากสัมผัสเชื้อโรคในอากาศที่มีมลพิษและภูมิคุ้มกันที่ยังพัฒนาไม่เต็มที่       นอกจากนี้พบว่าการสัมผ