ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5
ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5
แม้ว่ามลภาวะทางอากาศจะมีผลกระทบต่อประชากรในทุกพื้นที่ ทุกอายุ ทุกสังคม แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความเจ็บป่วยและเสียชีวิตในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่มมากกว่าบุคคลทั่วไป ซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณมลภาวะที่สัมผัส
ปัจจัยภายนอกทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆและปัจจัยภายในที่เป็นความเสี่ยงทางด้านชีวภาพ เช่น
• ประชาชนที่อาศัยอยู่แถบทวีปแอฟริกา เอเชีย และตะวันออกกลาง จะได้รับอากาศที่มีปริมาณสารมลพิษมากกว่า จึงเกิดผลกระทบด้านสุขภาพมากกว่าบริเวณอื่นๆของโลก
• ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งกำเนิดของสาร PM 2.5 เช่น บริเวณจราจรหนาแน่น, ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิง รวมถึงผู้ที่ทำงานหรือออกกำลังกายกลางแจ้งเป็นเวลานาน หรืออยู่ในอาคารที่ไม่ได้ปิดมิดชิดทำให้มีการหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไปมากขึ้น จะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ปัจจัยภายในของแต่ละบุคคลที่เพิ่มความเสี่ยงของผลกระทบด้านสุขภาพจาก PM 2.5 ได้แก่
• ผู้สูงอายุ
• เด็ก
• ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว [โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคปอด(เช่น โรคหอบหืด ,โรคถุงลมโป่งพอง ,โรคมะเร็งปอด),โรคอัมพาต , โรคเบาหวาน ,โรคไตเรื้อรัง]
• ผู้หญิงตั้งครรภ์
• ผู้ที่สูบบุหรี่
• ผู้ที่มีภาวะอ้วน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น