บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2020

ผลของ PM 2.5 ต่อโรคมะเร็ง

รูปภาพ
ผลของ PM 2.5 ต่อโรคมะเร็ง PM 2.5 และ PM 10 หมายถึงฝุ่นละเอียดขนาดเล็ก ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ ฝุ่นควันซึ่งเกิดจากการทำอาหาร จากรถยนต์ และอื่นๆ เมื่อฝุ่นขนาดเล็ก เข้าสู่ร่างกายทางการหายใจ ก็จะทำให้มีการระคายเคืองของ ทางเดินหายใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝุ่นขนาดเล็กที่มีขนาดน้อยกว่า 10 หรือที่รู้จักกันในขนาด 2.5 จะลงไปถึงท่อลมและถุงลมส่วนปลาย ทำให้ มีการ อักเสบเรื้อรังเกิดขึ้น และเมื่อได้รับเป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เกิดมะเร็งของระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งปอด จากการศึกษาในอเมริกา ปริมาณ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น 10 ug /m3 จะมีผลทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสูงขึ้น ร้อยละ 4%, 6%, และ 8% สำหรับโรคทุกชนิด โรคหัวใจ และ มะเร็งปอดตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การวัดค่า PM 2.5 และฝุ่นขนาดเล็กรวมกันทั้งหมด อาจไม่สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลชี้บ่งถึงอัตราเสียชีวิตได้เสมอไป ข้อมูลของประเทศไทย แม้ว่าจะไม่มีการศึกษาชัดเจนแต่จะเห็นได้ว่าในภาคเหนือโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง มีอัตราการ เกิดโรคมะเร็งปอดและอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดสูงกว่าภาคอื่นๆของประเทศไทย องค์การอนามัยโลกมีคำแนะนำเก

ระบบแจ้งเตือนไฟป่าด้วยดาวเทียม

รูปภาพ
ฮอตสปอต  ( Hot spot ) หรือจุดความร้อน  คือ บริเวณบนผิวโลกที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีการแผ่รังสีความร้อน ( Infrared, IR ) ออกมามากกว่าปกติ  ดังนั้น   Hot spot  ที่ตรวจพบจึงเป็น การคาดการณ์ว่า บริเวณ นั้น บน พื้น ผิวโลกกำลังเกิดไฟป่า  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  หรือ  GISTDA  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำข้อมูล จาก เซ็นเซอร์ ดาวเทียมระบบ  MODIS  ( Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer ) ซึ่งเป็นเครื่องมือถ่ายภาพที่ได้รับการติดตั้งบนดาวเทียม  TERRA  และ  AQUA  พัฒนาโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ( National Aeronautic and   Space Administration หรือ   NASA )  สามารถ ถ่ายภาพครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยและสามารถถ่ายภาพได้ ในช่วงเช้าและช่วงบ่ายของทุก วัน   ในการวิเคราะห์ จุด  Hot spot   ใช้ข้อมูลในช่วงคลื่นอินฟราเรดกลาง ( MIR band ) และช่วงคลื่น ความ-ร้อน ( Thermal band ) เพื่อประมวลผลตำแหน่งจุดความร้อน  โดยปกติสามารถตรวจวัดได้ทั้ง  เปลวไฟ  (Flaming fire)  หรือในบริเวณที่ไฟยังครุกกรุ่น  (Smoldering fire)  ที

ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาวของ PM 2.5

รูปภาพ
ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาวของ PM 2.5 ผลกระทบด้านสุขภาพของ PM 2.5 ขึ้นกับระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสสาร โดยความรุนแรงจะมากขึ้นเมื่อระยะเวลาสัมผัสนานขึ้น การสัมผัสระยะยาวเป็นช่วงที่ร่างกายเผชิญกับอากาศที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและอาจก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี ซึ่งผลกระทบที่เคยมีการศึกษาและรายงาน ได้แก่ • ผลต่อระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ  วิตกกังวล เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอัมพาต, เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และหัวใจเต้นผิดจังหวะ • ผลต่อทางเดินหายใจ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด รวมถึงมะเร็งปอด • ผลต่อหลอดเลือด ทำให้ปริมาณเลือดไปอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ม้าม ไต ลดลง • ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ และหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวลดลงและคลอดก่อนกำหนด ข้อมูลการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาของต่างประเทศ พบว่าความเสี่ยงและอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน, มะเร็งปอด, โรคหลอดเลือดสมองและโรคถุงลมโป่งพอง จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการสัมผัส PM 2.5 ที่ความเข้มข้นสูงขึ้น และค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้น

การชิงเผา อะไร ทำไม อย่างไร

รูปภาพ
การชิงเผา อะไร ทำไม อย่างไร? ช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระแสคำว่า การชิงเผา หรือ การเผาตามหลักวิชาการ เริ่มได้ยินหนาหูขึ้นเรื่อยๆ  ทั้งจากนักวิชาการ ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมไฟป่าที่เสนอให้นำมาใช้ในการจัดการเชื้อเพลิงในป่าเพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดไฟไหม้รุนแรง แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจถ่องแท้ว่า “การชิงเผา” หรือที่ศัพท์อย่างเป็นทางการเราเรียกว่า “การเผาตามกำหนด (prescribed burning) ว่าคืออะไร มีเป้าหมายของการเผาเพื่ออะไร มีวิธีการดำเนินการอย่างไร