ระบบแจ้งเตือนไฟป่าด้วยดาวเทียม
คือบริเวณบนผิวโลกที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีการแผ่รังสีความร้อน (Infrared, IR) ออกมามากกว่าปกติ
ดังนั้น Hot spot ที่ตรวจพบจึงเป็นการคาดการณ์ว่าบริเวณนั้นบนพื้นผิวโลกกำลังเกิดไฟป่า สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำข้อมูลจากเซ็นเซอร์ดาวเทียมระบบ MODIS (Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer) ซึ่งเป็นเครื่องมือถ่ายภาพที่ได้รับการติดตั้งบนดาวเทียม TERRA และ AQUA พัฒนาโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Aeronautic and Space Administrationหรือ NASA) สามารถถ่ายภาพครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยและสามารถถ่ายภาพได้ในช่วงเช้าและช่วงบ่ายของทุกวัน
ในการวิเคราะห์จุด Hot spot ใช้ข้อมูลในช่วงคลื่นอินฟราเรดกลาง (MIR band) และช่วงคลื่น ความ-ร้อน (Thermal band) เพื่อประมวลผลตำแหน่งจุดความร้อน โดยปกติสามารถตรวจวัดได้ทั้ง เปลวไฟ (Flaming fire) หรือในบริเวณที่ไฟยังครุกกรุ่น (Smoldering fire) ที่มีขนาดประมาณ 1,000 ตารางเมตร ซึ่งสามารถดูได้ว่าเกิดขึ้นตรงกับตำแหน่งใดและบริเวณนั้นมีเป็นพื้นที่อะไร เช่น
• ป่าอนุรักษ์
• ป่าสงวนแห่งชาติ
• เขตการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.)
• พื้นที่เกษตรกรรม
•พื้นที่ริมทางหลวง (250 เมตร)
• ชุมชน-อื่นๆ
แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 เป็นต้นมา ได้มีเครื่องมือชื่อ Visible Infrared Imaging Radiometer Suite (VIIRS) ซึ่งติดตั้งบนดาวเทียม Suomi NPP ทำให้การติดตามสถานการณ์ Hot Spot บนพื้นผิวโลกได้ดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากข้อมูลมีรายละเอียดมากขึ้นประมาณ 3 เท่า
นอกจากนี้ GISTDA ได้ดำเนินการวิเคราะห์พื้นที่หมอกควัน วิเคราะห์จากภาพสีผสมจริงของข้อมูลดาวเทียม TERRA ระบบ MODIS ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงวัตถุ (Object OrientedAnalysis) พร้อมกับตรวจสอบความถูกต้องของผลการวิเคราะห์ด้วยสายตา (Visualize)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น