บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

ฝุ่นกับปรากฏการณ์อุตุนิยมวิทยา

รูปภาพ
ฝุ่นกับปรากฏการณ์อุตุนิยมวิทยา ปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อการกระจายตัวและความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ในบรรยากาศได้แก่ 1. ลม ลมนั้นเป็นพาหะนำฝุ่นเดินทางไปในบรรยากาศ ในธรรมชาติลมในแต่ระดับความสูงจะพัดในทิศและความเร็วที่ต่างกัน  ปัจจุบันเรามีเครื่องมือที่สามารถคำนวณย้อนกลับให้ทราบถึงเส้นทางการเดินทางของอนุภาคฝุ่น ซึ่งจะยืนยันถึงแหล่งกำเนิด 2. ฝน เรื่องของฝน มีทั้งฝนแล้งและฝนชุก - ฝนแล้งทำให้พืชไร่และป่าแห้งติดไฟได้ง่าย  เนื่องจากเป็นช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรอาจจะเลือกกำจัดวัสดุทางการเกษตรด้วยการเผา ทำให้เกิดฝุ่นชีวมวล ทุกปีเกษตรกรเผาอ้อยหรือนาข้าวนับสิบล้านไร่  ช่วงฝนแล้งมนุษย์จะเข้าไปในป่าและจุดไฟเผา เพื่อหาของป่าหรือล่าสัตว์ เมื่อเกิดไฟป่าจะควบคุมไม่ได้ อาจจะติดนับสัปดาห์จนกว่าไฟจะหมดเชื้อเพลิง แต่ละปีมีไฟป่าในประเทศไทยนับล้านไร่ -ในช่วงฝนชุก เม็ดฝนช่วยกำจัดอนุภาคฝุ่น PM 2.5 ในอากาศได้เป็นอย่างดี ด้วยการชนและดูดซับไว้ ฟ้าหลังฝนถึงสะอาดมองเห็นไปได้ไกล  นอกจากนี้ไร่นาหรือป่าที่เปียกชื้นทำให้ยากต่อการติดไฟ ในช่วงฤดูฝนจะไม่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 3. การผกผันของอุณหภ

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ

รูปภาพ
ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ เป็นค่าความเข้มข้นที่มากที่สุดของสารในอากาศภายนอกบ้านที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งในกรณีของ PM10 และ PM2.5 มีการกำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายวัน (24 ชั่วโมง) และค่าเฉลี่ยของทั้งปี ค่ามาตรฐานนี้อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศและหน่วยงาน ซึ่งพิจารณาตามความเหมาะสมด้านสังคมและเศรษฐกิจ ร่วมด้วย ตัวอย่างเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในขณะนี้ของแต่ละประเทศแสดงในตาราง ซึ่งในอนาคต ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาหลายๆประเทศ พยายามที่จะปรับลดเกณฑ์ค่ามาตรฐานให้สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกและประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ และแจ้งเตือนประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงให้ตระหนักและปฏิบัติตัวให้เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกๆเมื่อเกิดมลภาวะทางอากาศ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ทาง https://www.dropbox.com/sh/0wo5vw292fumuwl/AABU0MWnMQabGje-FUUqI971a?dl=0

ฝุ่นเล็ก (PM 2.5) กับฝุ่นใหญ่ (PM 10) อะไรอันตรายกว่า

รูปภาพ
ฝุ่นเล็ก (PM 2.5) กับฝุ่นใหญ่ (PM 10) อะไรอันตรายกว่า ?        สารอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ (particulate matter: PM) ไม่ใช่สารชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นการผสมของสารเคมีหลากหลายชนิด ซึ่งอาจอยู่ในรูปของของแข็งที่เป็นชิ้นส่วนแห้ง, ของเหลวในรูปละอองฝอย หรือตรงกลางเป็นส่วนที่แข็งและมีของเหลวหุ้มภายนอก        สารอนุภาคเหล่านี้มีขนาด รูปร่าง และส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไป และอาจมีสารอิออนกลุ่มอนินทรีย์ (inorganic ions), สารโลหะหนัก, ส่วนประกอบของคาร์บอน, สารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) และสารที่เป็นส่วนประกอบของเปลือกโลก ร่วมด้วย         สาร PM แบ่งเป็น อนุภาคปฐมภูมิ ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง หรือ สารอนุภาคทุติยภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศจากการทำปฏิกิริยาเคมีกับก๊าซ [เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) ] และสารประกอบอินทรีย์บางชนิดที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น จากต้นไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น กระบวนการอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงยานพาหนะ         นอกจากการคำนึงถึงส่วนประกอบของสาร PM แล้ว ขนาดของอนุภาค

ทําไมฝุ่นในกรุงเทพฯจึงเข้มข้นขึ้นมากในช่วงต้นปี

รูปภาพ
ทําไมฝุ่นในกรุงเทพฯจึงเข้มข้นขึ้นมากในช่วงต้นปี?         ฝุ่นละออง PM 2.5 ในบริเวณกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงมีที่มาหลักๆ จากไอเสียจากรถยนต์ดีเซลในกรุงเทพฯเองและฝุ่นจากการเผาไหม้ชีวมวลในที่โล่ง เช่น วัสดุทางการเกษตร จำพวกอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว ต้นข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว และตอซังข้าวในนาหลังเก็บเกี่ยว จากทั้งภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ รวมทั้งหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ขึ้นอยู่กับว่าลมพัดมาจากไหนก็จะหอบเอาฝุ่นจากที่นั่นมา         ในช่วงต้นปี มีการเผาในที่โล่งทุกพื้นที่ตามที่กล่าวมาแล้ว และลมก็พัดมาจากทุกที่เช่นเดียวกัน หากมีลมพัดและอากาศสามารถไหลได้ดีก็จะหอบเอาฝุ่นเหล่านี้ลอยขึ้นที่สูงและกระจายออกไป         แต่ในช่วงต้นปีเป็นหน้าหนาว อากาศในกรุงเทพฯมีอุณหภูมิต่ำกว่าช่วงอื่นๆ เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การผกผันของอุณหภูมิ (Thermal Inversion) คือ ยิ่งสูงขึ้นไปในอากาศแทนที่อุณหภูมิจะลดลงในบางช่วง กลับมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการกดอากาศบริเวณพื้น รวมทั้งฝุ่นไม่ให้ลอยขึ้นข้างบนได้ คล้ายๆกับมีฝาชีครอบอยู่ ฝุ่นเหล่านี้จึงสะสมอยู่บริเวณใกล้พื้นดินที่เราอยู่เป็นเวลาน

ผลกระทบของมลภาวะทางอากาศกับสุขภาพ

รูปภาพ
ผลกระทบของมลภาวะทางอากาศกับสุขภาพ       ในการประเมินคุณภาพของอากาศ มีการตรวจวัดและรายงานปริมาณความเข้มข้นของสารที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะ หรืออากาศเป็นพิษ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ (particulate matter: PM) หรือในรูปของก๊าซ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไนโตรเจนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนอกไซด์ และ โอโซน         โดยในส่วนของอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ ประกอบด้วยส่วนผสมของอนุภาคที่เป็นของแข็งและของเหลว โดยสารเหล่านี้มีคุณลักษณะทางกายภาพชีวภาพและองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่         ส่วนประกอบทางเคมีที่พบบ่อย ได้แก่ ซัลเฟต, ไนเตรท, แอมโมเนียม, อิออนอื่นๆในกลุ่มอนินทรีย์ (เช่น โซเดียม, โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และคลอไรด์), สารคาร์บอนทั้งในรูปอินทรีย์และอนินทรีย์, ส่วนประกอบของเปลือกโลก, ส่วนของอนุภาคที่จับรวมตัวกับน้ำ, สารโลหะ (รวมถึง แคดเมียม, ทองแดง, นิกเกิล, วานาเดียมและสังกะสี) และสารไฮโดรคาร์บอนนอกจากนี้อาจพบสารชีวภาพ เช่น สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ และเชื้อก่อโรค        สารอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพจากหลายกลไก เช่น - ระค

รู้ทันฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมาจากไหน

รูปภาพ
รู้ทันฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมาจากไหน?       ฝุ่น PM 2.5 ไม่เหมือนฝุ่นทั่วไปเพราะว่ามีขนาดเล็กกว่าฝุ่นจากการก่อสร้างและเขม่าจากการเผาไหม้ว่าไปแล้วฝุ่น PM 2.5 นั้นหมายถึงฝุ่นที่มีขนาดอนุภาคแขวนลอยในอากาศที่มีเล็กกว่า 1/20 เท่าของเส้นผมลงมา มันรวมถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างๆที่มีขนาดเล็กมากๆด้วย        ลมเป็นพาหะนำฝุ่น PM 2.5 ไปได้ไกลนับร้อยหรือพันกิโลเมตร หากข้ามจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งจะเรียกว่าฝุ่นข้ามแดน  ทำให้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาของภูมิภาคโดยรวมไม่ใช่เพียงปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง        จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ (burnscars) ด้วยดาวเทียมในกลุ่มประเทศตอนเหนือของอาเซียนพบพื้นที่เผาไหม้ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชายแดนเราถึง 2/3 ในขณะที่ไทยเรามีพื้นที่เผาไหม้ในประเทศเองเพียง 1/3 เป็นผลจากการบังคับใช้กฎหมายและความร่วมมือของภาครัฐและประชาชน        ซึ่งกล่าวได้ว่าปัญหาหลักของฝุ่น PM 2.5 ของไทยนั้น มีสาเหตุหลักๆมาจากฝุ่นข้ามแดน  และสาเหตุรองมาจากฝุ่นที่กำเนิดในประเทศนั่นเอง         การแก้ไขปัญหาฝุ่นข้ามแดนนั้น ต้องอาศัยกลไกของความสัมพันธ์ระหว่า

เข้าใจนิเวศวิทยาไฟและระบบนิเวศสู่การจัดการไฟป่า

รูปภาพ
เข้าใจนิเวศวิทยาไฟและระบบนิเวศสู่การจัดการไฟป่า    ปัญหาไฟไหม้ป่าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกปี อันมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่ผันผวน รุนแรง และคาดเดายาก ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในหลายๆด้าน    อย่างไรก็ตาม ไฟ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกมายาวนาน หลักฐานบางอย่างระบุว่า ไฟป่าเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งสังคมพืชจึงมีการปรับตัวให้อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมอันมีไฟเป็นปัจจัยจำกัดมาอย่างยาวนาน เช่น การมีเปลือกต้นไม้ที่หนา เมล็ดแข็ง แตกหน่อได้ การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติที่อาศัยไฟหรือความร้อนเป็นตัวกระตุ้นฯ     ระบบนิเวศทั่วโลกจำนวนมาก เช่น • ป่าสนในทวีปอเมริกาเหนือ • สแกนดิเนเวีย • รัสเซีย • ป่ายูคาลิปตัสในทวีปออสเตรเลีย • ทุ่งสะวันน่าในแอฟริกา • รวมทั้งป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ เหล่านี้ล้วนเป็นระบบนิเวศที่มีไฟเป็นตัวกำหนดการคงอยู่และความสมบูรณ์ (fire dependent ecosystem) โดยจะมีไฟเกิดขึ้นเป็นระยะตาม ความถี่ , ความรุนแรง และ ช่วงเวลา ที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยรักษาโครงสร้าง องค์ประกอบ ตลอดทั้งหน้าที่ในระบบนิ