ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาวของ PM 2.5


ผลกระทบด้านสุขภาพในระยะยาวของ PM 2.5


ผลกระทบด้านสุขภาพของ PM 2.5 ขึ้นกับระยะเวลาที่ร่างกายสัมผัสสาร โดยความรุนแรงจะมากขึ้นเมื่อระยะเวลาสัมผัสนานขึ้น

การสัมผัสระยะยาวเป็นช่วงที่ร่างกายเผชิญกับอากาศที่มีความเข้มข้นของ PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและอาจก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพในระยะเวลาเป็นเดือนหรือปี

ซึ่งผลกระทบที่เคยมีการศึกษาและรายงาน ได้แก่

• ผลต่อระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ  วิตกกังวล เพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ทำให้เกิดอัมพาต, เพิ่มความเสี่ยงหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

• ผลต่อทางเดินหายใจ เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด รวมถึงมะเร็งปอด

• ผลต่อหลอดเลือด ทำให้ปริมาณเลือดไปอวัยวะต่างๆ เช่น ตับ ม้าม ไต ลดลง

• ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ และหญิงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวลดลงและคลอดก่อนกำหนด

ข้อมูลการศึกษาในเชิงระบาดวิทยาของต่างประเทศ พบว่าความเสี่ยงและอัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อทางเดินหายใจ, โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน, มะเร็งปอด, โรคหลอดเลือดสมองและโรคถุงลมโป่งพอง จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีการสัมผัส PM 2.5 ที่ความเข้มข้นสูงขึ้น และค่าความเข้มข้นของ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุก 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรังรายใหม่ ร้อยละ 27 เพิ่มความเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยโรคไต มีการทำงานของไตแย่ลง ร้อยละ 28 และเพิ่มความเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ร้อยละ 26


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5