ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคระบบทางเดินหายใจ



ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย
โรคระบบทางเดินหายใจ 
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

     ได้ศึกษาผลกระทบมลพิษทางอากาศต่อระบบทางเดินหายใจทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 6 ปี ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2559 ถึงผลกระทบของมลพิษทางอากาศระยะยาวต่อโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง พบว่าจังหวัดและพื้นที่มีฝุ่นและคาร์บอนอินทรีย์ปริมาณสูงจะมีอัตราการป่วยเข้านอนรักษาตัวโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มขึ้น 

    โดยพบว่าในภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตบริการสุขภาพที่ 1 ได้แก่ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ลำพูน จ.แม่ฮ่องสอน จ.แพร่ จ.น่าน จ.ลำปาง และจ.พะเยา ซึ่งมีปริมาณฝุ่นและคาร์บอนอินทรีย์ปริมาณสูงที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับการพบอัตราการป่วยเข้านอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังมากที่สุด 

    ส่วนในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตบริการสุขภาพที่ 12 ได้แก่ จ.ตรัง จ.พัทลุง จ.สตูล จ.สงขลา จ.ปัตตานี จ.นราธิวาส และจ.ยะลา ซึ่งมีปริมาณฝุ่นและคาร์บอนอินทรีย์ปริมาณต่ำที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับการพบอัตราการป่วยเข้านอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังต่ำที่สุด 

   โดยฝุ่นเพิ่มอัตราการป่วยเข้านอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 17 และคาร์บอนอินทรีย์เพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังร้อยละ 17 เช่นกัน

    เมื่อเปรียบเทียบเขตบริการสุขภาพที่ 1 กับ เขตบริการสุขภาพที่ 12 พบว่า เขตบริการสุขภาพที่ 1 มีอัตราการป่วยเข้านอนรักษาตัวโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังสูงกว่าเขตบริการสุขภาพที่ 12 เท่ากับ 1.2 เท่า 

    นอกจากนั้นยังพบว่า เขตบริการสุขภาพที่ 1 มีอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังสูงกว่าเขตบริการสุขภาพที่ 12 เท่ากับ 3.8 เท่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5