บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2020

ฝุ่นกับปรากฏการณ์อุตุนิยมวิทยา

รูปภาพ
ฝุ่นกับปรากฏการณ์อุตุนิยมวิทยา ปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยาที่มีผลต่อการกระจายตัวและความเข้มข้นของฝุ่น PM 2.5 ในบรรยากาศได้แก่ 1. ลม ลมนั้นเป็นพาหะนำฝุ่นเดินทางไปในบรรยากาศ ในธรรมชาติลมในแต่ระดับความสูงจะพัดในทิศและความเร็วที่ต่างกัน  ปัจจุบันเรามีเครื่องมือที่สามารถคำนวณย้อนกลับให้ทราบถึงเส้นทางการเดินทางของอนุภาคฝุ่น ซึ่งจะยืนยันถึงแหล่งกำเนิด 2. ฝน เรื่องของฝน มีทั้งฝนแล้งและฝนชุก - ฝนแล้งทำให้พืชไร่และป่าแห้งติดไฟได้ง่าย  เนื่องจากเป็นช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรอาจจะเลือกกำจัดวัสดุทางการเกษตรด้วยการเผา ทำให้เกิดฝุ่นชีวมวล ทุกปีเกษตรกรเผาอ้อยหรือนาข้าวนับสิบล้านไร่  ช่วงฝนแล้งมนุษย์จะเข้าไปในป่าและจุดไฟเผา เพื่อหาของป่าหรือล่าสัตว์ เมื่อเกิดไฟป่าจะควบคุมไม่ได้ อาจจะติดนับสัปดาห์จนกว่าไฟจะหมดเชื้อเพลิง แต่ละปีมีไฟป่าในประเทศไทยนับล้านไร่ -ในช่วงฝนชุก เม็ดฝนช่วยกำจัดอนุภาคฝุ่น PM 2.5 ในอากาศได้เป็นอย่างดี ด้วยการชนและดูดซับไว้ ฟ้าหลังฝนถึงสะอาดมองเห็นไปได้ไกล  นอกจากนี้ไร่นาหรือป่าที่เปียกชื้นทำให้ยากต่อการติดไฟ ในช่วงฤดูฝนจะไม่มีปัญหาฝุ่น PM 2.5 ...

ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ

รูปภาพ
ค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศ เป็นค่าความเข้มข้นที่มากที่สุดของสารในอากาศภายนอกบ้านที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งในกรณีของ PM10 และ PM2.5 มีการกำหนดค่ามาตรฐานเฉลี่ยรายวัน (24 ชั่วโมง) และค่าเฉลี่ยของทั้งปี ค่ามาตรฐานนี้อาจแตกต่างกันในแต่ละประเทศและหน่วยงาน ซึ่งพิจารณาตามความเหมาะสมด้านสังคมและเศรษฐกิจ ร่วมด้วย ตัวอย่างเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ในขณะนี้ของแต่ละประเทศแสดงในตาราง ซึ่งในอนาคต ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาหลายๆประเทศ พยายามที่จะปรับลดเกณฑ์ค่ามาตรฐานให้สอดคล้องกับองค์การอนามัยโลกและประเทศที่พัฒนาแล้วเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ และแจ้งเตือนประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงให้ตระหนักและปฏิบัติตัวให้เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรกๆเมื่อเกิดมลภาวะทางอากาศ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ทาง https://www.dropbox.com/sh/0wo5vw292fumuwl/AABU0MWnMQabGje-FUUqI971a?dl=0

ฝุ่นเล็ก (PM 2.5) กับฝุ่นใหญ่ (PM 10) อะไรอันตรายกว่า

รูปภาพ
ฝุ่นเล็ก (PM 2.5) กับฝุ่นใหญ่ (PM 10) อะไรอันตรายกว่า ?        สารอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ (particulate matter: PM) ไม่ใช่สารชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นการผสมของสารเคมีหลากหลายชนิด ซึ่งอาจอยู่ในรูปของของแข็งที่เป็นชิ้นส่วนแห้ง, ของเหลวในรูปละอองฝอย หรือตรงกลางเป็นส่วนที่แข็งและมีของเหลวหุ้มภายนอก        สารอนุภาคเหล่านี้มีขนาด รูปร่าง และส่วนประกอบทางเคมีที่แตกต่างกันไป และอาจมีสารอิออนกลุ่มอนินทรีย์ (inorganic ions), สารโลหะหนัก, ส่วนประกอบของคาร์บอน, สารประกอบอินทรีย์ (organic compounds) และสารที่เป็นส่วนประกอบของเปลือกโลก ร่วมด้วย         สาร PM แบ่งเป็น อนุภาคปฐมภูมิ ซึ่งถูกปล่อยออกมาจากแหล่งกำเนิดโดยตรง หรือ สารอนุภาคทุติยภูมิ ซึ่งเกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศจากการทำปฏิกิริยาเคมีกับก๊าซ [เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2), ไนโตรเจนออกไซด์ (NOX) ] และสารประกอบอินทรีย์บางชนิดที่ถูกปล่อยออกมาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น จากต้นไม้และพืชพันธุ์ต่างๆ หรือจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น กระบวนการอุตสาหกรรม และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงยานพาหนะ ...

ทําไมฝุ่นในกรุงเทพฯจึงเข้มข้นขึ้นมากในช่วงต้นปี

รูปภาพ
ทําไมฝุ่นในกรุงเทพฯจึงเข้มข้นขึ้นมากในช่วงต้นปี?         ฝุ่นละออง PM 2.5 ในบริเวณกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียงมีที่มาหลักๆ จากไอเสียจากรถยนต์ดีเซลในกรุงเทพฯเองและฝุ่นจากการเผาไหม้ชีวมวลในที่โล่ง เช่น วัสดุทางการเกษตร จำพวกอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว ต้นข้าวโพดหลังเก็บเกี่ยว และตอซังข้าวในนาหลังเก็บเกี่ยว จากทั้งภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ รวมทั้งหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ขึ้นอยู่กับว่าลมพัดมาจากไหนก็จะหอบเอาฝุ่นจากที่นั่นมา         ในช่วงต้นปี มีการเผาในที่โล่งทุกพื้นที่ตามที่กล่าวมาแล้ว และลมก็พัดมาจากทุกที่เช่นเดียวกัน หากมีลมพัดและอากาศสามารถไหลได้ดีก็จะหอบเอาฝุ่นเหล่านี้ลอยขึ้นที่สูงและกระจายออกไป         แต่ในช่วงต้นปีเป็นหน้าหนาว อากาศในกรุงเทพฯมีอุณหภูมิต่ำกว่าช่วงอื่นๆ เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า การผกผันของอุณหภูมิ (Thermal Inversion) คือ ยิ่งสูงขึ้นไปในอากาศแทนที่อุณหภูมิจะลดลงในบางช่วง กลับมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นทำให้เกิดการกดอากาศบริเวณพื้น รวมทั้งฝุ่นไม่ให้ลอยขึ้นข้างบนได้ คล้ายๆกับมีฝาชีครอบอยู่ ...

ผลกระทบของมลภาวะทางอากาศกับสุขภาพ

รูปภาพ
ผลกระทบของมลภาวะทางอากาศกับสุขภาพ       ในการประเมินคุณภาพของอากาศ มีการตรวจวัดและรายงานปริมาณความเข้มข้นของสารที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะ หรืออากาศเป็นพิษ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ (particulate matter: PM) หรือในรูปของก๊าซ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไนโตรเจนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนอกไซด์ และ โอโซน         โดยในส่วนของอนุภาคที่แขวนลอยในอากาศ ประกอบด้วยส่วนผสมของอนุภาคที่เป็นของแข็งและของเหลว โดยสารเหล่านี้มีคุณลักษณะทางกายภาพชีวภาพและองค์ประกอบทางเคมีแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่         ส่วนประกอบทางเคมีที่พบบ่อย ได้แก่ ซัลเฟต, ไนเตรท, แอมโมเนียม, อิออนอื่นๆในกลุ่มอนินทรีย์ (เช่น โซเดียม, โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม และคลอไรด์), สารคาร์บอนทั้งในรูปอินทรีย์และอนินทรีย์, ส่วนประกอบของเปลือกโลก, ส่วนของอนุภาคที่จับรวมตัวกับน้ำ, สารโลหะ (รวมถึง แคดเมียม, ทองแดง, นิกเกิล, วานาเดียมและสังกะสี) และสารไฮโดรคาร์บอนนอกจากนี้อาจพบสารชีวภาพ เช่น สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ และเชื้อก่อโรค       ...

รู้ทันฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมาจากไหน

รูปภาพ
รู้ทันฝุ่น PM 2.5 ในประเทศไทยมาจากไหน?       ฝุ่น PM 2.5 ไม่เหมือนฝุ่นทั่วไปเพราะว่ามีขนาดเล็กกว่าฝุ่นจากการก่อสร้างและเขม่าจากการเผาไหม้ว่าไปแล้วฝุ่น PM 2.5 นั้นหมายถึงฝุ่นที่มีขนาดอนุภาคแขวนลอยในอากาศที่มีเล็กกว่า 1/20 เท่าของเส้นผมลงมา มันรวมถึงสารประกอบไฮโดรคาร์บอนต่างๆที่มีขนาดเล็กมากๆด้วย        ลมเป็นพาหะนำฝุ่น PM 2.5 ไปได้ไกลนับร้อยหรือพันกิโลเมตร หากข้ามจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่งจะเรียกว่าฝุ่นข้ามแดน  ทำให้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาของภูมิภาคโดยรวมไม่ใช่เพียงปัญหาของประเทศใดประเทศหนึ่ง        จากการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่เผาไหม้ (burnscars) ด้วยดาวเทียมในกลุ่มประเทศตอนเหนือของอาเซียนพบพื้นที่เผาไหม้ในประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชายแดนเราถึง 2/3 ในขณะที่ไทยเรามีพื้นที่เผาไหม้ในประเทศเองเพียง 1/3 เป็นผลจากการบังคับใช้กฎหมายและความร่วมมือของภาครัฐและประชาชน        ซึ่งกล่าวได้ว่าปัญหาหลักของฝุ่น PM 2.5 ของไทยนั้น มีสาเหตุหลักๆมาจากฝุ่นข้ามแดน  และสาเหตุรองมาจากฝุ่นที่กำเนิดในประเท...

เข้าใจนิเวศวิทยาไฟและระบบนิเวศสู่การจัดการไฟป่า

รูปภาพ
เข้าใจนิเวศวิทยาไฟและระบบนิเวศสู่การจัดการไฟป่า    ปัญหาไฟไหม้ป่าที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นในทุกปี อันมีสาเหตุหลักมาจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศที่ผันผวน รุนแรง และคาดเดายาก ส่งผลกระทบต่อทั้งระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและมนุษย์ในหลายๆด้าน    อย่างไรก็ตาม ไฟ เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับโลกมายาวนาน หลักฐานบางอย่างระบุว่า ไฟป่าเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 400 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งสังคมพืชจึงมีการปรับตัวให้อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมอันมีไฟเป็นปัจจัยจำกัดมาอย่างยาวนาน เช่น การมีเปลือกต้นไม้ที่หนา เมล็ดแข็ง แตกหน่อได้ การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติที่อาศัยไฟหรือความร้อนเป็นตัวกระตุ้นฯ     ระบบนิเวศทั่วโลกจำนวนมาก เช่น • ป่าสนในทวีปอเมริกาเหนือ • สแกนดิเนเวีย • รัสเซีย • ป่ายูคาลิปตัสในทวีปออสเตรเลีย • ทุ่งสะวันน่าในแอฟริกา • รวมทั้งป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ เหล่านี้ล้วนเป็นระบบนิเวศที่มีไฟเป็นตัวกำหนดการคงอยู่และความสมบูรณ์ (fire dependent ecosystem) โดยจะมีไฟเกิดขึ้นเป็นระยะตาม ความถี่ , ความรุนแรง และ ช่วงเวลา ที่เหมาะสมซึ่งจะช่วยรักษาโครงสร้าง องค์ป...