ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน



ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย
โรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลัน 

        จากข้อมูลย้อนหลัง 6 ปี ของประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2554-2559 พบว่า มลพิษทางอากาศมีผลกระทบระยะสั้น คือ ในทุกๆปีจะพบอัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันสูงสุดในช่วงเดือน มกราคม กุมภาพันธ์ และมีนาคม โดยมีอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันทั่วทุกภาคใกล้เคียงกัน และพบว่าสัมพันธ์กับปริมาณฝุ่นจิ๋ว ขนาด 2.5 ไมครอน ซึ่งพบว่าสูงมากในช่วง 3 เดือนดังกล่าวของทุกปี 

        นอกจากนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวยังพบว่ามีปริมาณคาร์บอนอินทรีย์สูงขึ้นร่วมด้วย ส่วนช่วงเดือนที่มีการอัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันต่ำสุด คือ ช่วงเดือน ตุลาคม พฤศจิกายน และธันวาคม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม กับช่วงเดือน ตุลาคม ถึง ธันวาคม จะพบว่า อัตราการป่วยตายจากโรคปอดอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันของทุกปี ในช่วงเดือน มกราคม ถึง มีนาคม สูงกว่า ช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม ถึง 2 เท่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5