ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ



ผลกระทบ PM 2.5 ด้านสุขภาพในประเทศไทย
โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

      ข้อมูลการศึกษาของกลุ่มวิจัยโรคหลอดเลือดสมองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า 
- ปริมาณ PM 2.5 ที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 mg/m3 เพิ่มอัตราการนอนโรงพยาบาลด้วยโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ร้อยละ 33 และจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยรายปี PM 2.5 มากกว่า 25 mg/m3 มีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 
- เมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดที่มีค่า PM2.5 เฉลี่ยรายปีต่ำกว่า 25 mg/m3 โดยส่วนประกอบของ PM 2.5 ที่มีผลต่อโรคหลอดเลือดสมองในระยะยาวมากที่สุด คือ 
• สารคาร์บอนดำ 
• ฝุ่น 
และกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบของ PM 2.5 ต่อโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น ได้แก่ ผู้สูงอายุ เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

      ผลการศึกษาผลกระทบของมลภาวะทางอากาศกับโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน พบว่า อัตราการรักษาในโรงพยาบาลสูงในพื้นที่ภาคกลาง (บริเวณกรุงเทพมหานครและเขตสุขภาพที่ 4,5) ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณสารคาร์บอนดำ โดยพบความเสี่ยงของอุบัติการณ์โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มมากขึ้น 1.24 เท่า ต่อปริมาณคาร์บอนดำที่เพิ่มขึ้นทุก 1 mg/m3
         
      อัตราการเจ็บป่วยของโรคไตเรื้อรังพบมากในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณของฝุ่น , คาร์บอนอินทรีย์ และซัลเฟต โดยเฉพาะในระยะแรกๆของโรค

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

ทำไม PM 2.5 ถึงมีผลเสียต่อหลายอวัยวะ