เปิดดูสถานีตรวจวัดฝุ่นของกรมควบคุมมลพิษ(คพ.)



เปิดดูสถานีตรวจวัดฝุ่นของกรมควบคุมมลพิษ(คพ.)

     ในช่วงเวลาที่ผ่านมา มั่นใจว่าหลายๆท่านรู้จักและคุ้นเคยกับฝุ่นจิ๋ว ที่ชื่อ PM 2.5 กันบ้างแล้ว และบางท่านอาจสงสัยว่า ค่าฝุ่น PM 2.5 ที่ภาครัฐรายงานแจ้งเตือนประชาชนทุกวันนั้น ได้มาจากไหน อย่างไร? เพื่อตอบข้อสงสัย เรามาดูกันว่ากรมควบคุมมลพิษ วัดฝุ่น PM 2.5 กันอย่างไร ?

      เครื่องวัดฝุ่น PM 2.5 แบบอัตโนมัติ ที่ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเครื่องวัดฝุ่นที่มีวิธีการตรวจวัดตามที่กฎหมายกำหนด และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เครื่องวัดฝุ่นของกรมควบคุมมลพิษ(คพ.)ที่มีอยู่ส่วนใหญ่เป็นวิธีเบต้า เร แอทเทนนูเอชั่น (Beta Ray Attenuation) ใช้หลักการลดทอนของปริมาณรังสีเบต้า และวิธีการกระเจิงของแสง (Light Scattering) โดยเครื่องวัดฝุ่นจะใช้ปั๊มดูดตัวอย่างอากาศให้เข้าสู่ระบบด้วยอัตราการไหลคงที่ ผ่านช่องทางเข้าของอากาศ เพื่อรวบรวมฝุ่นละอองสำหรับวิเคราะห์หาปริมาณฝุ่น PM 2.5 ตามวิธีเบต้า เร แอทเทนนูเอชั่น หรือวิธีการกระเจิงของแสง

     เมื่อเครื่องวัดฝุ่นวิเคราะห์ได้ค่าฝุ่น PM 2.5 แล้ว ระบบจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ข้อมูลของ กรมควบคุมมลพิษผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เพื่อเข้าสู่ระบบการรายงานสู่สาธารณะต่อไป สถานีเหล่านี้มีระบบคุณภาพอย่างเคร่งครัดโดยจะต้องสอบเทียบกับมาตรฐานทุกๆ 15 วัน






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ทําไมฝุ่นเข้มข้นในตอนเช้า ?

PM 2.5 เข้าสู่ร่างกายอย่างไรและผลกระทบต่อสุขภาพ

ใครคือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพของ PM 2.5